ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อโรงเรียน | โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี |
สถานที่ตั้ง | 8 หมู่ 3 ตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230 โทรศัพท์ โทรสาร 038-119649 |
suanchon_skc@hotmail.ac.th | |
website | http://www.suanchon.ac.th/ |
สังกัด | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี – ระยอง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
เขตพื้นที่บริการ | ทุกหมู่บ้านในตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี |
เปิดสอน | ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 |
พื้นที่ | 25 ไร่ |
วันก่อตั้งโรงเรียน | วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2542 |
วันประกาศจัดตั้งโรงเรียน | วันที่ 13 สิงหาคมพ.ศ. 2547 |
สัญลักษณ์ของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ![]() | ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาติ ใช้ตรานี้เมื่อ พ.ศ. 2475 มีสัญลักษณ์ ดังนี้ เป็นรูปหนังสือมีไม้บรรทัด ดินสอ ปากกาคั่นอยู่ หน้าปกหนังสือมีจุลมงกุฎ หรือ พระเกี้ยวยอดและอักษรย่อ จ.ป.ร. ด้านขวาของหนังสือมีดอกกุหลาบ 4 ดอก หมายถึง สุ จิ ปุ ลิ และมุมซ้ายด้านล่างมีริบบิ้นผูกช่อกุหลาบมีข้อความระบุโรงเรียนหลวงสวนกุหลาบ ต่อมาใน พ.ศ. 2483 ได้มีการนำสัญลักษณ์ของโรงเรียนมาเสริม ประดับล้อมดวงตา ทำให้องค์ประกอบครบถ้วนสมบูรณ์ เช่นทุกวันนี้ ตราประจำโรงเรียนนี้ เป็นความภาคภูมิใจสูงสุดของลูกสวนกุหลาบ |
คติพจน์ของโรงเรียน | สุวิชาโน ภวํ โหติ แปลว่า ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ |
สีประจำโรงเรียน | สีชมพู – ฟ้า สีชมพู เป็นสีประจำวัน พระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งตรงกับวันอังคาร สีฟ้า เป็นสีประจำวัน พระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระศรีพัชรินทร์บรมราชินีนาถซึ่งตรงกับวันศุกร์ |
ธงประจำโรงเรียน | ธงมี 2 แถบ – แถบบนสีชมพู หมายถึง สีประจำวัน พระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งตรงกับวันอังคาร – แถบล่างสีฟ้าหมายถึงสีประจำวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระศรีพัชรินทร์บรมราชินีนาถซึ่งตรงกับวันศุกร์ |
อักษรย่อโรงเรียน | ส.ก.ช |
ประวัติโรงเรียน
คุณวิกรม กรมดิษฐ์ ผู้เป็นเจ้าของนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ได้มีความคิดที่จะสร้างโรงเรียนขึ้นในนิคมฯ โดยมีวัตถุประสงค์การจัดตั้งโรงเรียนในครั้งนี้เพื่อรองรับนักเรียนที่เป็นบุตรหลานของผู้ปกครองที่มาทำงานที่ นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ที่อยู่ห่างไกลจากอำเภอศรีราชา อำเภอปลวกแดง ที่ยังไม่มีรถประจำทางในการเดินทางไปศึกษาและนักเรียนในพื้นที่ส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ซึ่งท่านมีน้องชายคุณวิบูลย์ กรมดิษฐ์ ซึ่งเป็นศิษย์เก่าของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ท่านจึงได้ประสานงานกับอธิบดีกรมสามัญศึกษา และได้บริจาคที่ดิน จำนวน 25 ไร่ เพื่อจัดตั้งโรงเรียนขึ้น โดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี” โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี จัดพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2542 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นประธานในพิธีและมีนายกว้าง รอบคอบ อธิบดีกรมสามัญศึกษาและนายศิริ สุงคาสิทธิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ร่วมพิธีในครั้งนี้
สภาพชุมชนโดยรวม
สภาพชุมชนโดยรอบบริเวณโรงเรียนเป็นโรงงานอุตสาหกรรม อาชีพหลักของประชากรในชุมชน คือ พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม
ผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพลูกจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม ค้าขาย รับจ้างทั่วไป ธุรกิจส่วนตัว เกษตรกร ข้าราชการและไม่ได้ประกอบอาชีพที่แน่นอน ตามลำดับ
การนับถือศาสนา ได้แก่ ศาสนาพุทธ อิสลาม และคริสต์ ตามลำดับ
ประเพณี/ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ ประเพณีวันไหลบ่อวิน โดยจะจัดวันอาทิตย์แรกของเดือนเมษายนเป็นประจำทุกปี
สภาพทางภูมิศาสตร์ อำเภอศรีราชา ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลาดเนิน มีภูเขาเล็ก ๆ ตั้งกระจายอยู่ทั่วไป
ทิศเหนือ ติดอำเภอเมืองชลบุรี
ทิศใต้ ติดอำเภอบางละมุง และอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง
ทิศตะวันออก ติดอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี
ฝั่งทะเล ติดอำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี
นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง มีพื้นที่ครอบคลุม 2 จังหวัด คือ จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง เลขที่ 7 หมู่ที่ 3 ถนนสาย 331 ตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ มีทำเลยุทธศาสตร์ คือเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่จะเชื่อมโยงเส้นทางการค้า-การลงทุนของภูมิภาคอาเซียนเข้ากับตลาดโลก พร้อมทั้งเป็นต้นแบบให้กับนิคมอุตสาหกรรมอื่น ๆ เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลกให้สนใจมาสร้างฐานการผลิตในพื้นที่
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ตั้งอยู่ในนิคมอมตะซิตี้ ระยอง เลขที่ 8 หมู่ที่ 3 ถนนสาย 331 ตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอศรีราชา 37 กิโลเมตร โรงเรียนจัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย ภารกิจหลักโรงเรียนในฐานะที่เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ มีหน้าที่จัดการศึกษาที่หลากหลายให้กับประชาชนในชุมชนเพื่อก้าวสู่ความเป็นมาตรฐานสากล และดำรงตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารและครูในโรงเรียนจะต้องให้ความสำคัญในการร่วมกันพัฒนาองค์การให้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนในทุก ๆ ด้านและเป็นที่ยอมรับต่อประชาชนทั่วไป
แผนผังโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี

ตารางแสดงจำนวนนักเรียนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 – พ.ศ. 2567
